top of page
Featured Posts

"ตีกอล์ฟ"...ทีไรเป็นต้องเจ็บแปลบทุกที จากวงสวิงสวยๆ ต้องกลายเป็นวงสวิงเสียวๆ

กอล์ฟเป็นกีฬาที่ผู้คนนิยมเล่นทั่วโลก ทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับความสามารถเล่นกีฬากอล์ฟได้ และก็ยังเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่พบว่ามีอาการบาดเจ็บบ่อยๆ และเข้ามาปรึกษากับทางคลินิก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการปวดหลัง


สาเหตุที่นักกอล์ฟมักมีอาการปวดหลังบ่อยๆ เนื่องจากรูปแบบการเหวี่ยงไม้ หรือวงสวิงของนักกอล์ฟเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อของหลังหลายๆ ส่วนประกอบกันที่มีลักษณะฝืนการทำงานตามธรรมชาติของหลัง เช่น การก้มและบิดลำตัว เพื่อให้หลังมีช่วงการเคลื่อนไหวกว้างกว่าปกติ ทำให้เกิดแรงกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังมากขึ้น โดยเฉพาะขณะไม้ตีกระทบลูกและวงสวิงต่อเนื่องหลงจากลูกพุ่งออกไปแล้ว


ถ้าดูจากภาพประกอบด้านล่างจะเห็นว่า ท่าทางตั้งแต่การก้มตัวตลอดไปจนถึงเหวี่ยงไม้ตีลูก จะมีแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลังทั้งหมด 3 รูปแบบ คือแรงกระแทกแนวดิ่งตรง แรงกระแทกด้านข้าง และแรงบิดเฉือนต่อกระดูกสันหลัง ดังนั้นด้วยลักษณะที่ต้องก้มหลังและบิดลำตัวเมื่อทำซ้ำๆ บ่อยๆ หรือซ้อมหนักหนักๆ จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อหลัง (Muscle Strain) หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน (Disc Herniation) รวมถึงข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบและเสื่อม (Facet Joint Syndrome)

ปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริมให้เกิดการบาดเจ็บที่หลังของนักกอล์ฟได้แก่

1. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพของร่างกายก็ต่ำลง (Low Fitness)

2. ระดับความชำนาญ (Skill Level)

3. รูปแบบของวงสวิง (Golf Swing Type) ซึ่งแต่ละรูปแบบก็อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการเลียนแบบวงสวิงของโปรกอล์ฟชื่อดังก็อาจจะทำให้บาดเจ็บได้เช่นกัน

อาการเบื้องต้นโดยทั่วไปของนักกอล์ฟคือจะมีอาการเจ็บแปล็บที่หลังขณะตีวงสวิง อาจพบได้ตั้งแต่หลังส่วนกลาง (mid thoracic area) ไปจนถึงหลังส่วนล่าง (lower lumbar area)

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาทางกายภาพบำบัดเบื้องต้นจะมุ่งเน้นไปที่ลดอาการบาดเจ็บ พร้อมกับการใช้โปรแกรมออกกำลังกายเฉพาะสำหรับนักกอล์ฟเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย (Flexibility) เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength) และเพิ่มความสมดุลให้กับร่างกาย (Balance and Co-Ordination) เพื่อป้องกันการกลับมาปวดหลังซ้ำ หลังจากที่อาการปวดหลังหายดีขึ้นแนะนำให้นักกอล์ฟปรึกษา โปรกอล์ฟมืออาชีพ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและเลือกใช้วงสวิงที่เหมาะสม ควบคุมสรีระร่างกายของตนเองให้ดีขณะเล่นอยู่เสมอ (Correct Good Posture)

รูปด้านล่างจะเป็นตัวอย่างการรักษาทางกายภาพบำบัด และการดูแลตัวเองเบื้องต้น

1. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องมือ และเทคนิคจากสหรัฐอเมริกา

2. ขยับและปรับโครงสร้างของข้อต่อกระดูกสันหลังที่มีปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค Spinal Mobilization

3. ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือ เอ็นข้อต่อ โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น Therapeutic Ultrasound หรือ Laser Therapy

4. การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย โปรแกรมเพื่อการเพื่อฟื้นฟูการปวด (Therapeutic Exercise Program) โดยจะเน้นไปที่ ฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Stability Training) เพื่อกระตุ้นการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Control) ควบคุมการหายใจ (Diaphragmatic Breathing) ควบคุมและฝึกกล้ามเนื้อเชิงกราน (Pelvic Tilting and Pelvic Floor Exercises) สามารถดูวิธีการออกกำลังกายและชื่อท่าต่างๆตามรูปด้านล่างได้เลยค่ะ (ขอขอบคุณแหล่งที่มาของรูปต่างด้วยนะค่ะ)

Side plank (Source of Picture: http://www.menshealth.co.uk)

Bird Dog (Source of Picture: http://www.menshealth.co.uk)

Contralateral Arm and Leg Lift Plank (Source of Picture: http://www.stylecraze.com)

Bridge (Source of Picture: http://www.gym-inspiration.com)

Bridge with single-leg lift (Source of Picture: http://www.workoutprogramsrx.com)

Curl-up (Source of Picture: http://www.womensok.com)

Half-Kneeling T-Spine Rotation (Source of Picture: http://www.lancasteronline)

References

  1. McHardy, Andrew, Henry Pollard, and Kehui Luo. "Golf injuries." Sports Med 36.2 (2006): 171-187.

  2. Finn, Christopher. "Rehabilitation of low back pain in golfers: from diagnosis to return to sport." Sports health 5.4 (2013): 313-319.

  3. Tsai, Yung-Shen, et al. "A comparison of physical characteristics and swing mechanics between golfers with and without a history of low back pain." journal of orthopaedic & sports physical therapy 40.7 (2010): 430-438.

For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic (Bangkok) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com

facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**

Comments


Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page