top of page
Featured Posts

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)


ภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

ลองสำรวจสรีระร่างกายของคุณ และปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนเกิดปัญหา

ภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และมักจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากภายนอกเมื่ออาการเป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาภาวะดังกล่าวมีความยากลำบากและซับซ้อนมากขึ้น มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น สมัยก่อนผู้ป่วยมักเชื่อกันว่าต้องรอให้มีอาการก่อนจึงจะมาพบแพทย์ เนื่องจากกลัวว่าการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจะเป็นการเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต

เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์ ร่วมกับการพัฒนาเทคนิคในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การรักษาภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปได้ผลดีมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ทั้งนี้การรักษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจประเมินและทำการรักษาในช่วงเวลาเหมาะสม ร่วมกับการดำเนินไปของโรคยังไม่รุนแรงมากนัก

ลักษณะทางของกระดูกสันหลังโดยทั่วไป

กระดูกสันหลังเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อปกป้องแกนของไขสันหลัง (spinal cord) แล้ว ยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อหลังเชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ (skull) กระดูกสะบัก (scapula) กระดูกเชิงกราน (pelvic bones) และกระดูกซี่โครง (ribs) อีกด้วย

กระดูกสันหลังของคนเรามีทั้งหมด 33 ชิ้นประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น ส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12 ชิ้น ส่วนบั้นเอว (Lumbar vertebrae) 5 ชิ้น ส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) และก้นกบ (Coccyx) อย่างละ 1 ชิ้น

แนวของกระดูกสันหลังปกติของคนเราเมื่อดูในแนวด้านข้างจะพบว่ากระดูกสันหลังส่วนคอและบั้นเอวจะมีส่วนโค้งนูนไปทางด้านหน้า (Lordotic curve) กระดูกสันหลังส่วนอก กระเบนเหน็บ และก้นกบส่วนโค้งจะนูนไปทางด้านหลัง (Kyphotic curve) ขณะที่ถ้าดูในแนวด้านหน้าหลังจะพบว่ากระดูกสันหลังในแต่ละส่วนจะเรียงตัวเป็นแนวเส้นตรง

ภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังเกิดการบิดเบี้ยวไปทางด้านข้าง เกิดการผิดรูปและเสียสมดุล ถ้ามุมองศาของการคดมาก อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ แทรกซ้อนขึ้นมาได้ ภาวะนี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสรีระที่หลายคนวิตกกังวล เพราะส่งผลถึงบุคลิกภาพที่จะทำงานในบางอาชีพได้ และถ้ามุมองศาของการคดมาก อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ แทรกซ้อนตามมาได้

ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น เคยได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน แตกหัก การที่คดมาตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อในกระดูกสันหลัง หรือไม่ทราบสาเหตุ โดยส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทของภาวะกระดูกสันหลังคดได้เป็น

1. กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) เกิดจากการสร้างกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในมดลูกของคุณแม่ โดยจะใช้ภาพถ่ายรังสี (X-ray) ในการตรวจเช็ค จะพบว่ามีกระดูกสันหลังบางชิ้นมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งแพทย์จะทำการส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีโรคหัวใจและโรคทางเดินปัสสาวะแต่กำเนิดซ่อนอยู่หรือไม่ เพราะความผิดปกติดังกล่าวอาจเกิดร่วมได้

2. กระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) พบได้บ่อยที่สุดถึง 80% ในวัยเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 10 ปีจนถึงวัยรุ่น โดยอาศัยการตรวจร่างกายและตรวจกระดูกสันหลังอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่จะนำไปสู่การเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ผู้ที่คนในครอบครัวมีภาวะกระดูกสันหลังคด มักมีโอกาสที่จะมีภาวะนี้เกิดขึ้นได้ด้วย

การคดของกระดูกสันหลังมักพบได้ที่ส่วนอกและส่วนเอว ซึ่งจะพบส่วนโค้งในแนวซ้ายขวาที่ผิดปกติได้ 2 ลักษณะคือ คดแบบมีส่วนโค้งเดียวคล้ายรูปตัว C กับคดแบบมีส่วนโค้ง 2 บริเวณคล้ายรูปตัว S ร่วมกับลักษณะสรีระที่ผิดปกติและไม่สมดุลของโครงสร้างที่เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลัง เนื่องจากผู้ที่มีภาวะนี้จะพยายามปรับสรีระของตัวเองให้ทรงท่าอยู่ได้มากที่สุด

อาการของภาวะกระดูกสันหลังคด โดยทั่วไปไม่มีอาการใดๆ มักจะสังเกตเห็นสรีระของร่างกายที่มีความผิดปกติ ไหล่และสะบักสองข้างไม่เท่า แผ่นหลังสองข้างนูนไม่เท่ากัน ซี่โครงข้างหนึ่งปูดหรือยื่นออกมา เอวด้านหนึ่งคอดมากกว่าอีกด้านหนึ่ง สะโพกสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่องศาของการคดยังไม่มาก อาจจะสังเกตยากแต่เมื่อองศาของการคดมากขึ้น ความผิดปกติต่างๆจะแสดงออกมาให้เห็นได้ชัดมากขึ้น ร่วมกับอาจมีการหายใจบกพร่อง เจ็บทรวงอกหรือซี่โครง ปวดหลัง หรือลักษณะการเดินที่ผิดปกติเกิดขึ้นได้

วิธีตรวจเช็คและประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง

หลายคนคงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าเราพบว่าตัวเองมีภาวะกระดูกสันหลังคดตั้งแต่ในวัยเด็กจะสามารถป้องกันไม่ให้องศาของการคดนั้นเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ กรณีที่องศาของการคดไม่มากจะใช้การฝึกออกกำลังเพื่อจัดและคงโครงสร้าง ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้องศาการคดเพิ่มขึ้น แต่ถ้าองศาการคดมากา อาจจะมีการใช้เสื้อเกราะพยุงลำตัว (Brace) เพื่อดัดลำตัวไว้ตลอด ร่วมกับฝึกออกกำลัง เมื่อโครงสร้างอยู่ในแนวที่ปกติ กล้ามเนื้อต่างๆ สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการพยุงโครงสร้างต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และองศาของการคดไม่เพิ่มขึ้น จึงจะหยุดสวมใส่เสื้อเกราะพยุงลำตัว (Brace) องศาของการคดสามารถวัดได้จากภาพถ่ายรังสี (X-ray) และทุกๆ 6 เดือนควรมาทำภาพถ่ายรังสี (X-ray) ซ้ำ เพื่อดูองศาของการคดว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่

แล้วถ้าเราไม่ได้เป็นตั้งแต่เด็ก แต่ตอนนี้อยากรู้ว่าตัวเองเริ่มเข่าข่ายที่จะเป็นภาวะนี้หรือไม่ มีวิธีตรวจเช็คตัวเองง่ายๆ ดังนี้

1. ให้ลองถอดเสื้อออกแล้วยืนหน้ากระจกดูตัวเอง เราจะมองออกเลยว่าตัวเราเอียงหรือไม่ ไหล่สองข้างเท่ากันหรือไม่ มีซี่โครงข้างใดปูดนูนออกมาไหม เห็นแผ่นหลังข้างใดนูนขึ้นมาหรือไม่ แนวกระดูกสะโพกสองข้างเท่ากันอยู่ไหม

2. หนึ่งการทดสอบที่สังเกตได้ง่ายและได้ผลดีก็คือ ยืนตรง กางขาเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆ ก้มตัวและยืดแขนทั้งสองไปทางด้านหน้าถึงระดับสะโพก สังเกตหลังว่าซ้าย-ขวานูนเท่ากันหรือไม่ (Adam’s forward bend test)

3. วิธีที่เห็นผลได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ภาพถ่ายรังสี (X-ray) เพราะจะทำให้มองเห็นการเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้อย่างชัดเจน

"กรณีถ้าองศาของการคดมากกว่า 40 องศา อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่"

การรักษาทางกายภาพบำบัด

ภาวะกระดูกสันหลังคดในทางการรักษานั้น “นักกายภาพบำบัด” ถือว่ามีความสำคัญมากในการช่วยชะลอและทำให้องศาของการคดนั้นลดลง ร่วมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดและกำจัดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น พร้อมเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จัดโครงสร้าง และช่วยให้ลักษณะท่าทางกลับสู่สมดุลมากที่สุด

กรณีที่ภาวะกระดูกสันหลังคดไม่รุนแรงมาก โครงสร้างต่างๆ ยังสามารถที่จะกลับสู่สมดุลได้ ทางกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมิน หาสาเหตุและปัญหาที่เป็นต้นต่อ ใช้เทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งจะเน้นไปที่การฝึกออกกำลังเพื่อปรับโครงสร้าง โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยภาวะนี้มีโครงสร้างที่สมดุลขึ้น สรีระดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1. ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ ลดอาการปวดและเร่งขบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ อาทิเช่น อัลตราซาวน์ (Therapuetic ultrasound) เลเซอร์กำลังต่ำ (Low power laser)

2. ใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัด (Manual therapy) เพื่อปรับสมดุลของเนื้อเยื่อและโครงสร้างต่างๆ เช่น Myofascial release (ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ) และ style="margin-left:99.0pt;"Mobilization technique (ช่วยจัดและปรับโครงสร้าง)

3. Therapeutic exercises program เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายแบบ Corrective postural exercise จะเน้นไปที่กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเป็นหลัก (axil muscles) ประกอบไปด้วย

- Flexibility exercises เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของโครงสร้างและความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อฝั่งที่หดสั้น

- Core stabilizer exercises เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว

- Control and corrective posture exercises ฝึกควบคุมให้กล้ามเนื้อเรียนรู้การทำงานถูกต้อง ขณะที่จัดโครงสร้างอยู่ในแนวที่ถูกต้อง (symmetrical and asymmetrical exercises)

- Static exercises body weight เพื่อลดความตึงตัวตลอดแนวกระดูกสันหลัง cellspacing="0" align="left"

For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic

(พร้อมให้บริการ 4สาขา ลาดพร้าว | ทองหล่อ | ราชดำริ | กาญจนาภิเษก ) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com

facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**

เอกสารอ้างอิง

HORNE, John P.; FLANNERY, Robert; USMAN, Saif. Adolescent idiopathic scoliosis: diagnosis and management. Am Fam Physician, 2014, 89.3: 193-8.

http://archive.doctor.or.th/index.php/th/diseases-treatment/scoliosis-air-hostess

http://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

![endif]--

Comments


Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page