ปวดดี (Good Pain) vs ปวดไม่ดี (Bad Pain) ต่างกันอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ
อาการปวดทั้ง 2 อย่างนั้น บางครั้งนักกีฬาก็ยากที่จะทราบว่าเป็นอาการปวดทั่วไปเนื่องจากออกกำลังกาย (DOMS) หรือ เป็นอาการปวดที่ควรจะต้องทำการรักษา เดี๋ยวเราลองมาดูความแตกต่างกันนะครับ
การปวดจากการฝึกฝน หรือ ออกกำลังกาย (Good Pain)
เป็นการเจ็บปวดที่เป็นการตอบสนองทางกายภาพต่อการออกกำลังกาย จากการฝึกซ้อมที่เพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายที่มากกว่าปกติที่ร่างกายเคยฝึกซ้อมมา ซึ่งอาการปวดดังกล่าวนี้ส่วนมากจะมีอาการปวดอยู่ประมาณ 2-3 วัน และก็จะหายไป ในขณะที่อาการปวดแบบไม่ดี (Bad Pain) ที่จะพูดต่อไปนั้นจะน่ากังวลกว่า เนื่องจากอาการปวดถือเป็นระบบเตือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายของคุณพยายามจะบอกให้คุณรู้ว่ามันจะบาดเจ็บและเป็นอันตรายได้นะ
การจำแนกระหว่างการปวดที่ดีกับการปวดที่ไม่ดีต่อร่างกายอาจจะทำได้ลำบากสักหน่อย แต่นักกีฬาลองสังเกตร่างกายตัวเองดู ก็จะสามารถเรียนรู้ถึงความแตกต่างของมันได้ การปวดแบบแรกจะมาแล้วก็ไป แต่การปวดแบบที่สองจะเป็นอยู่นานไม่หาย หรือบางครั้งก็มีอาการปวดเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นถ้ารู้สึกว่าไม่หาย ก็ควรที่จะต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป โดยเฉพาะเมื่อนักกีฬาตั้งเป้าหมายที่จะฝึกฝนตัวเองเพื่องานแข่งบางอย่าง เช่น จะเข้าแข่งขันในอีก1 เดือนข้างหน้า การทุ่มเทให้กับการฝึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ การปั่นจักรยานขึ้นเขา การเดินลู่ หรือการฝึกแบบ HIIT จะเป็นการฝึกฝนให้ร่างกายของคุณรับมือกับสถานการณ์เวลาแข่งจริงในรูปแบบการฝึกเหล่านั้นได้ และยังเป็นการฝึกฝนจิตใจให้สามารถก้าวผ่านความทรมานจากการปวดเมื่อยจากการฝึกนั้นได้
อาการปวดแบบไม่ดี (Bad Pain)
อาการปวดประเภทนี้สามารถรู้สึกได้ในหลายลักษณะ และบรรยายลักษณะอาการได้มากมาย เช่น ปวดชา ปวดแปลบ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น ทั้งนี้การที่คุณสามารถอธิบายลักษณะอาการปวดของคุณได้จะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาได้ง่ายมากขึ้น เช่น การปวดแบบลึกๆส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อ (Soft tissue) ส่วนการปวดแปลบส่วนมากจะเกี่ยวกับเส้นประสาท เป็นต้น
ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการปวดแบบไม่ดีควรทำอย่างไร
ในระยะเวลา 48 ชั่วโมงแรกหลังจากมีอาการปวดจะมีความสำคัญมาก เพราะในระยะ 48 ชั่วโมงแรกเป็นช่วงที่การอักเสบเริ่มแสดงอาการ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือให้หยุดกิจกรรมที่ทำให้คุณเกิดอาการปวดเจ็บโดยทันที และคุณจะต้องคอยสังเกตอาการและเก็บรายละเอียดที่มาที่ไปของการปวดนี้เพื่อบอกกับนักกายภาพบำบัด จริงอยู่ว่าการปวดเป็นสิ่งยากที่จะอธิบายแบบเจาะจงว่าอาการเป็นอย่างไร หรือบางครั้งอาจจะจำรายละเอียดได้ไม่หมด แต่เพียงมีข้อมูลบางส่วน ก็จะสามารถช่วยในการวินิจฉัยสาเหตได้เยอะ เช่น ใช้เวลาฝึกนานแค่ไหนถึงเริ่มมีอาการเจ็บ หรือ ทำลักษณะท่าไหนแล้วมีอาการเจ็บ เป็นต้น
แต่เนื่องจากนักกีฬาส่วนมากมักจะทนกับความเจ็บปวดเพราะเราไม่อยากจะเสียเวลาอันมีค่าในการฝึก และต้องการรักษาระดับ Performance ของตัวเองเพื่อเข้าร่วมให้ทันการแข่งขัน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการเจ็บหนักมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ถ้าเข้ารับการตรวจรักษาในทันทีเมื่อเริ่มมีอาการเจ็บ ทางนักกายภาพบำบัดจะสามารถช่วยประเมินระดับอาการ รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบการฝึกซ้อมให้เหมาะสมได้อีกด้วย
เมื่อไรที่ควรต้องหยุด?
อาการบาดเจ็บบางอย่างอาจจะไม่ได้หมายความว่านักกีฬาต้องหยุดฝึกทุกโปรแกรม ดังนั้นการตรวจทางกายภาพบำบัดจะสามารถช่วยตรวจประเมินเบื้องต้น และแจ้งให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้จากการฝึก
การก้าวข้ามความเจ็บปวดเป็นเรื่องยาก เพราะมันก็เป็นหนึ่งในการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถตนเอง แต่หากคุณรู้ว่าอาการปวดใดที่จะเกิดขึ้นและระยะเวลาในการฟื้นตัว นักกีฬาก็จะมีทางเลือกต่างๆให้พิจารณาและชั่งน้ำหนักมากขึ้น และนำมาเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงกับข้อดี เช่น หากคุณได้รับบาดเจ็บก่อนการแข่งขันสำคัญที่คุณทุ่มเทให้กับการฝึกมานาน นักกีฬาก็ต้องอาจจะตัดสินยอมสู้ต่อถ้าไม่ได้มีอาการเจ็บมากจนแข่งไม่ได้ แต่หากเป็นรายการที่เล็กๆ นักกีฬาก็ควรจะเลี่ยงข้ามไป และอย่าลืมนะครับว่าการเจ็บนั้นมักจะส่งผลต่อสภาพความฟิต และ Performance ของร่างกาย
Thank you Resource / Reference: https://bit.ly/2LRUKvM
For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic
(พร้อมให้บริการ 4สาขา ลาดพร้าว | ทองหล่อ | ราชดำริ | กาญจนาภิเษก ) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com
facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**
Comentarios