ทำไม “เจ็บหัวไหล่” โดยเฉพาะเวลายกแขน (Shoulder Impingement in Athletes)
"เล่นกีฬาเป็นประจำ ซ้อมมาอย่างดี อยู่ดีๆ ทำไม “เจ็บไหล่” โดยเฉพาะเวลาขยับ"
โดยทั่วไปการ “เจ็บไหล่” ในนักกีฬาที่พบบ่อยๆมักเกิดขึ้นขณะการทำท่าออกกำลังกายในท่าชูแขนขึ้นเหนือศรีษะ หรือกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล รักบี้ เป็นต้น ซึ่งสามารถอธิบายได้จากรูปข้างล่างดังนี้
โครงสร้างภายใน subacromial space
Source: https://quayhealth.com.au/blog/
ลักษณะโครงสร้างหัวไหล่โดยปกติจะมีช่องว่างที่เรียกว่า Subacromial Space ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างกระดูกต้นแขนที่เรียกว่า Humerus กับ กระดูกสะบักส่วนที่ชื่อว่า Acromion เมื่อเวลาเรายกแขนขึ้นเหนือศรีษะ กระดูกทั้ง 2 ชิ้นนี้จะขยับเข้ามาใกล้กันแต่ไม่ชนกัน ดังนั้นเมื่อนักกีฬาที่มีอาการเจ็บหัวไหล่ทุกครั้งที่มีการยกแขนขึ้นเหนือศรีษะ โดยส่วนมากจะพบว่ามีช่องว่างระหว่างกระดูกทั้ง 2 ชิ้นนี้ (Subacromial Space) แคบลง จึงทำให้เกิดการชนกันของกระดูก 2 ชิ้นนี้
ลักษณะอาการ (diagnostic signs and symptoms)
โดยทั่วไปอาการเบื้องต้นมักจะปวดต้นแขนทางด้านข้างขณะที่มีการทำกิจกรรมใช้แขนเหนือศีรษะ อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนเหนือศีรษะซ้ำๆ ซึ่งมักจะปวดขณะยกแขนในช่วงที่เรียกว่า "mid arc range" หรือ ช่วงยกแขนตามรูปภาพด้านล่าง
Source: http://morphopedics.wikidot.com/supraspinatus-tendinitisinjury/
สาเหตุ (causes)
สาเหตุการกดทับกันของโครงสร้างภายใน subacromial space สามารถเกิดได้ทั้งจากความผิดปกติทางโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวไหล่
1. ความผิดปกติทางโครงสร้าง คือ ช่องว่างแคบลงจากการที่มีโครงสร้างอื่นเข้ามาแทนที่ เช่น การงอกของกระดูกสบัก (Acromial spur), การอักเสบของข้อต่อ acromioclavicular joint หรือมีหินปูนเข้าไปเกาะ ซึ่งมักจะเกิดในวัยกลางคนขึ้นไป
2. ความผิดปกติของการทำหน้าที่ เนื่องจากการบาดเจ็บของโครงสร้างภายในข้อไหล่ glenohumeral joint เช่น การฉีกขาดของถุงน้ำ (labral tear) หรือเยื่อหุ้มข้อ (capsular tear) หรือกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ไม่แข็งแรง (rotator cuff muscle imbalance) ซึ่งมักพบได้บ่อยโดยทั่วไปในนักกีฬาที่ต้องใช้แขนเล่นเหนือศีรษะซ้ำๆ
การรักษา (Treatment)
1. การพัก (relative rest) ในช่วงที่มีการบาดเจ็บควรหลีกเลี่ยงการยกหรือแบกของหนักและลดความเร็วในการเคลื่อนไหวข้อไหล่ นักกีฬาควรละเว้นการออกกำลังกายและการฝึกซ้อมที่ทำให้ไหล่แย่ลง
2. การรักษาทางกายภาพบำบัด (physiotherapy)
- การลดปวดและยับยั้งการอักเสบ (inflammatory pain relief) โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด อาทิเช่น ultrasound therapy, low power laser therapy, TENS เป็นต้น
- การลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเยื้อหุ้มข้อ (myofascial release) โดยใช้เทคนิคการรักษาเฉพาะทางของกายภาพบำบัดที่นิยมแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา เช่น ISATM, soft tissue mobilization เป็นต้น
- การปรับท่าออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความมั่นคงของข้อไหล่ โดยที่การออกกำลังกายนี้จะต้องไม่กระตุ้นให้เกิดอาการ
ตัวอย่างท่าออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองเบื้องต้นสามารถดูได้จากวีดีโอข้างล่างนี้เลยค่ะ
Source: Stronglife Physiotherapy
For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic (Bangkok) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com
facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**