top of page
Featured Posts

อาการปวดเข่าที่พบบ่อยในนักวิ่งที่เรียกว่า Patellofemoral pain syndrome หรือ runner's knee

อาการปวดเข่าในนักกีฬา

เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่าทำไมออกกำลังกายก็เยอะ เล่นกีฬาก็มากแต่ทำไมถึงยังมีอาการปวดหัวเข่าอยู่ ทั้งที่น้ำหนักก็ไม่เยอะ อายุก็ยังไม่มาก และมักจะมีอาการปวดเข่าทางด้านหน้ารอบลูกสะบ้าหรือด้านหลังลูกสะบ้ารวมไปถึงบางครั้งจะรู้สึกขัดๆที่หัวเข่าเวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่ง, การเดิน, การ squat, การขึ้น-ลงบันไดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งนานๆในท่างอเข่า พอเวลาจะลุกขึ้นก็รู้สึกปวดขัดบริเวณหัวเข่า

Source: http://www.webmd.com/pain-management/knee-pain/picture-of-the-knee

เรามาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับเข่าที่เราปวด?...

อาการเหล่านี้เกิดจากความไม่สมดุลของแรงในการควบคุมลูกสะบ้าให้อยู่ในร่องที่เหมาะสมขณะที่มีการงอและเหยียดเข่านั่นเอง ซึ่งเราอาจจะรู้จักกลุ่มอาการนี้ว่า patellofemoral pain syndrome หรือ runner's knee ซึ่งสาเหตุมีด้วยกันหลายสาเหตุไม่ว่าจะเกิดจากความผิดปกติของแนวการวางตัวกระดูกส่งผลให้การเคลื่อนไหวเบี่ยงเบนหรือผิดจากแนวปกติไป กระดูกสะบ้าหลวมมากเกินไป รวมไปถึงการฝึกที่มากเกินและน้ำหนักที่มากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อตามมา

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด...

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบมากที่สุดในกลุ่มนักวิ่งหรือนักกีฬาคือเกิดจากกล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งทำงานไม่สมดุลกัน (ด้านนอกและด้านในเข่า) คือ

กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านในอ่อนแรง ซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งมัดคือ vastus medialis oblique (VM) ซึ่งกล้ามเนื้อตัวนี้มีความสำคัญมากที่จะช่วยออกแรงที่ทำให้ลูกสะบ้าดึงกลับเข้ามาทางด้านใน เมื่อกล้ามเนื้อตัวนี้อ่อนแรง กระดูกสะบ้าก็จะอยู่ผิดแนวและเบี้ยวไปทางเข่าด้านนอก

ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านนอกซึ่งมีอยู่ 3 มัดกล้ามเนื้อคือ Vastus lateralis (VL) , Vastus intermedius (VI) และ Iliotibial band ที่แข็งแรงและมักจะมีแรงตึงมากกว่า จะดึงให้ลูกสะบ้าออกทางด้านนอก ทำให้แนวกระดูกสะบ้าเบี้ยวไปทางด้านนอก ยิ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุลของแนวแรงเวลาเคลื่อนไหวและตามมาด้วยอาการบาดเจ็บนั่นเอง

Source: http://www.soptri.com/runners-knee-treatment-exercises/

เป็นแล้วรักษาอย่างไร?....

ก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิด ซึ่งถ้าเกิดจากโครงสร้างที่ผิดปกติ ก็ต้องแก้ที่โครงสร้างนั้นให้กลับมาสู่ในตำแหน่งที่ปกติที่สุด เพื่อเปลี่ยนให้แนวกระดูกและกล้ามเนื้อทำงานกันอย่างสมดุลมากขึ้น เช่น การทำกายภาพบำบัดด้วยการขยับจัดแนวข้อต่อให้กลับเข้าที่ การเพิ่มความแรงแข็งของกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านในและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านนอก การเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม หรือการติดเทปช่วยจัดแนวกระดูก+พยุงและกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง เป็นต้น

หากไม่รีบรักษาจะเป็นอย่างไร?....

หากปล่อยอาการไว้เรื้อรังโดยที่ไม่รีบรักษาหรือแก้ไขจะทำให้อาการที่เป็นอยู่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เกิดเป็นอาการเรื้อรัง เมื่อทนไม่ไหวแล้วจะมาแก้ไขหรือรักษาก็จะใช้เวลานานขึ้นตามระยะเวลาที่เราสะสมอาการนั้นไว้

อาการสำคัญที่มักพบได้บ่อยคือ การลามไปปวดอีกข้างหรือลามไปปวดข้อเท้าหรือข้อสะโพก เนื่องจากกล้ามเนื้อใกล้เคียงหรือกล้ามเนื้อด้านตรงข้าม จะพยายามช่วย (compensate) โดยที่เราอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่อยู่ติดกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้พบอัตราการเกิดข้อเสื่อมได้ไวมากจากกลุ่มเรื้อรังกลุ่มนี้

วิธีการออกกำลังกายเข่า เพื่อดูแลอาการเบื้องต้น

Credit: Sports Injury Specialist James Dunne

For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic (Bangkok) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com

facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**

Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page